วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561

สื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย

กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่อง มารู้จักอากาศดีกว่า

สรุป
อากาศ (atmosphere) คือ ส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ และไอน้ำซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน นอกนั้นเป็นก๊าซอื่น ๆ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย อากาศมีอยู่รอบ ๆ ตัวเราทุกหนทุกแห่ง ทั้บนยอดสูงสุดของภูเขาและในที่จอดรถใต้ดิน อากาศมีอยู่ในบ้าน มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์ อากาศไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น อากาศที่ไม่มีไอน้ำเรียกว่า อากาศแห้ง ส่วนอากาศที่มีไอน้ำปนอยู่ด้วย เรียกว่า อากาศชื้น ไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศมีอยู่ระหว่างร้อยละ 0-4 ของอากาศทั้งหมด ไอน้ำเป็นส่วนผสมที่สำคัญของอากาศ และไอน้ำก็เป็นสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น ลม พายุ ฟ้าแลบฟ้าร้อง รุ้งกินน้ำ เป็นต้น
สมบัติของอากาศ (Properties)
1.อากาศมีตัวตนและสัมผัสได้
2.อากาศมีน้ำหนัก
3.อากาศต้องการที่อยู่
4.อากาศเคลื่อนที่ได้ และ เมื่ออากาศได้รับความร้อนจะขยายตัว ลอยตัวสูงขึ้น ทำให้ความหนา
แน่นของอากาศบริเวณนี้ลดลง อากาศบริเวณใกล้เคียงที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าความหนาแน่น
มากกว่าจะเข้ามาแทนที่ ซึ่งเรียกว่า การเคลื่อนที่ของอากาศหรือลม

สรุป

ชื่อเรื่อง   วิจัย เรื่องทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน



ปริญญานิพนธ์

 ของ

 ศศิพรรณ สําแดงเดช



ความมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง  
2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง


สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า

เด็กปฐมวัยทได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานมีทักษะพื้นฐานทาง วิทยาศาสตรสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง 


 บทที่3 วิธีดําเนินการศึกษาค้นคว้า
ในการวิจัยครงนี้ ผู้วิจัยได้ดําเนินการตามลำดับขั้นตอนดังนี้
1. กําหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การจัดกระทําและการวิเคราะห์ข้อมูล การกําหนดประชากรและเลือกกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้เป็นนักเรียนชาย - หญิง ที่มีอายุ 5-6 ปีที่กําลัง ศึกษาอยู่ในชนอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล) สํานักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร จํานวน 175 คน กลุ่มตวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้เป็นนักเรียนชาย-หญิงที่มีอายุ 5-6 ปีที่กําลัง ศึกษาอยู่ในชนอนุบาลปีที่ 2/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล) สํานักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงดังนี้
 1. เลือกห้องเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรยนวัดไทร(ถาวรพรหมานุกูล) สํานักงาน เขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร มา 1 ห้องเรียนจากนักเรียน 5 ห้องเรียน โดยเป็นห้องเรียนที่ ผู้วิจัยทําการสอนซึ่งมนีักเรียนจํานวน 35 คน
 2. ทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กทั้งห้อง โดยใช้แบบทดสอบวัด ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
 3. นําคะแนนที่ได้จากการทดสอบวัดทักษะพนฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กทั้งห้อง มาเรียงลําดับคะแนนจากมากไปน้อย เลือกเด็กกลุ่มที่ได้คะแนนต่ําที่สุดขึ้นไป 15 อันดับ จํานวน 15 คน เพื่อเป็นกลุ่ม

ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
 1. แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
 2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ขั้นตอนในการสร้างแผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน

1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเล่านิทาน
2. ดําเนินการเลือกนิทานดังนี้ 
2.1 เลือกนิทานที่มีอยู่ทั่วไปตามท้องตลาด เป็นนิทานไทย โดยใช้หลักเกณฑ์ในการเลือกคือ เนื้อหาของนิทานจะให้ความสนกสนานและสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในด้าน การสังเกต การจําแนก และการสื่อสาร โดยมีผู้เชี่ยวชาญเปนผู้ทําการคัดเลือก นิทาน
2.2 นํานิทานที่เลอกมากำหนดคําถามและสร้างกิจกรรมการทดลองที่มี ความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่องของนิทานและจุดประสงค์ที่ต้องการส่งเสริมทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ของ แต่ละเรื่อง นิทานที่เลือกและสร้างเพิ่มเติมเรียงลําดับตามวันที่ปฏิบัติกิจกรรมและจุดประสงค์ที่ ต้องการส่งเสริม ดังนี้
















 " บทความวิทยาศาสตร์ "

บทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ




              วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่นเราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อนมากวิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามีพัดลมหรือแอร์ เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยีเช่นทีวี วิทยุ เป็นต้น เราสามารถเก็บข้อมูลได้มากมายเรียกใช้ข้อมูลประมวลความรู้และสื่อสารข้อมูลไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วจากเครื่องคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ช่ายให้เราเข้าใจตัวเองและโลกรอบตัว ความยิ่งใหญ่และความซับซ้อนของธรรมชาติทำให้เราพยายามอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจและแสวงหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวในจักรวาล ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เราเกิดความตระหนักมากขึ้นและพยายามที่เขียนอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล 
               เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะแน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์ เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก 
          วิทยาศาสตร์หมายถึงการสืบค้นและอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ สภาพแวดล้อมและร่างกายมนุษย์ หรือวิทยาศาสตร์หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติ โดยได้จากการศึกษาค้นคว้าอย่างมีขั้นตอนและมีระเบียบแบบแผน ความรู้ของข้อมูลต่างๆ ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีหลักฐานและข้อมูลเพิ่มเติมขึ้นจากการค้นพบใหม่ที่เป็นปัจจุบันและที่ดีกว่าคือ ตัวอย่างและข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่สามารถทดสอบได้ มีขอบเขต มีระเบียบกฎเกณฑ์ มีการสังเกตการจดบันทึกการตั้งสมมติฐาน และอื่นๆ วิทยาศาสตร์มีขอบข่ายการศึกษาค่อนข้างกว้างขวาง แต่โดยสรุปแล้วก็คือ การศึกษาธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ซึ่งอาศัยกระบวนการค้นคว้าหาความรู้ที่มีขั้นตอนเป็นระเบียบแบบแผนตั้งแต่สมัยโบราณ มนุษย์พยายามเรียนรู้ทำความเข้าใจและอธิบายธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา อันได้แก่ พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง และปรากฏการณ์ต่างๆ จนนำไปสู่การกำหนดหลักการ กฎเกณฑ์ และทฤษฏี อันเป็นรากฐานของการศึกษาค้นคว้าแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น ชาร์ลส์ ดาร์วิน ได้ศึกษาธรรมชาติและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แล้วสรุปเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการ แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้ศึกษาความธรรมชาติและความสัมพันธ์ของสสารกับพลังงาน จนได้มาเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการ เป็นต้น 
Katz and Chard (1986. อ้างอิงจาก Cliatt & Shaw. 1992 : 3-4 ) อธิบายวัตถุประสงค์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ว่า ทำให้เกิดความรู้ ทักษะต่างๆ การจัดการและ ความรู้สึก ความรู้ประกอบด้วย ความคิด ข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอดและสารสนเทศ ทักษะประกอบด้วย พฤติกรรมทางร่างกาย สังคม การสื่อสารและการแสดงออกทางปัญญาเช่น การเล่นและการทำงานคนเดียวหรือกับคนอื่นๆ การแสดงความคิดผ่านภาษาโดยการพูดและการเขียน การจัดการกับกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยลักษณะนิสัยการทำงานด้วยความอดทน ความอยากรู้อยากเห็น การลงมือแสวงหาความรู้ด้วยการทดลองตามที่ได้วางแผนไว้ สนับสนุนให้ได้มาซึ่งความรู้ อัญชลี ไสยวรรณ(2547 :1-6 )กล่าวเพิ่มเติมว่ากิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กเรียนรู้วิธีการเรียนและการสร้างความมั่นใจของเด็ก ลดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่รู้ จะนำไปสู่ความรู้สึกประสบความสำเร็จ การสนับสนุนความอยากรู้ของเด็ก กิจกรรมวิทยาศาสตร์เพิ่มความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นในการทำงานร่วมกันเพื่อหาคำตอบจากคำถามทางวิทยาศาสตร์

กิจกรรมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนเด็กปฐมวัยมีความ


สำคัญหลายประการดังนี้

  1. ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของตนเองและมีความกระตือรือร้น (คือเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้)
  2. ส่งเสริมการทำงานรายบุคคลและการคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาของเด็ก
  3. ยอมรับรูปแบบการเรียนรู้จากวัสดุอุปกรณ์ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่เป็นธรรมชาติ การรับรู้และความพยายามของเด็กหลายคนจากการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีความสำคัญต่อการรับรู้ชีวิต เรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์การทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์
  4. เพื่อเป็นการช่วยอธิบายความเข้าใจด้วยตัวเองของเด็ก
  5. ดูแลเอาใจใส่ต่อพฤติกรรมของเด็กที่ปรากฎ เช่น การแสดงความกังวลใจ เด็กที่เกิดความเบื่อ
  6. กิจกรรมการค้นพบช่วยให้ผู้เรียนสนใจใฝ่รู้ อยากสืบค้นต่อไป
  7. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทางสติปัญญาของเด็กจากการเรียนรู้ที่เด็กได้สัมผัสกับวัสดุอุปกรณ์ ทำให้เด็กมีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมที่มีความยากขึ้น เด็กได้เรียนรู้ภาษาและเนื้อหาสาระแบบบูรณาการ เช่น วิธีการได้รับประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติต่อการอ่าน วิธีการสอนแบบโครงการต่อการพัฒนาหลักสูตร การใช้ประสาทสัมผัส และการใช้กล้ามเนื้ออย่างเหมาะสมกับวัย
สรุปจากบทความ
 วิทยาศาสตร์ คือความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวที่จะติดตัวกับมนุษย์มาตั้งแต่เกิดเห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตชักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเด็กๆเจอ อันได้แก่ พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง และปรากฏการณ์ต่างๆ จนนำไปสู่การกำหนดหลักการ กฎเกณฑ์ และทฤษฏี อันเป็นรากฐานของการศึกษาค้นคว้าแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้นกิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กเรียนรู้วิธีการเรียนและการสร้างความมั่นใจของเด็ก ลดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่รู้ จะนำไปสู่ความรู้สึกประสบความสำเร็จ การสนับสนุนความอยากรู้ของเด็ก กิจกรรมวิทยาศาสตร์เพิ่มความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นในการทำงานร่วมกันเพื่อหาคำตอบจากคำถามทางวิทยาศาสตร์ 



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันพุธ ที่ 22 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2561  

เวลาเรียน  (08:30 - 12:30)






ความรู้ที่ได้ในวันนี้

วันนี้อาจารย์นัดไปเจอกันที่ห้องสมุด ชั้น 3 เพื่อพูดคุยและตกลงการเรื่องไปเขาดิน เพื่อจัดกิจกรรม โดยมีฐานให้แก่เด็ก แต่ละฐานมีเวลาให้จำนวน 15 นาที กิจกรรมหรือฐานที่จัดต้องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในสวนสัตว์ดุสิตหรือเขาดิน  อาจารย์ได้แบ่งกลุ่มให้เพื่อนๆ ช่วยกันคิดเกี่ยวกับการไปเขาดิน โดยแต่ละกลุ่มอาจารย์ได้ให้ เวลาช่วยกันคิด เพื่อนๆ ต่างออกความคิดเห็นกลุ่มของดิฉันได้เรื่องการ ทดลอง อาจารย์ได้ให้กลุ่มของพวกเราไปช่วยกันคิดให้เกี่ยวกับการทดลองในเขาดิน แต่กลุ่มของพวกเรายังนึกไม่ค่อยออก อาจารย์เลยให้เวลาคิดใหม่ 

ภายในห้องเรียนจะทั้งหมด 5 กลุ่ม ดังต่อไปนี้

กลุ่มที่ 1 ฐานผจญภัยอะไรเอ่ย
กลุ่มที่ 2 ฐานอย่าลืมเล่าสู่กันฟัง
กลุ่มที่ 3 ฐานรอยเท้าของใครเอ่ย
กลุ่มที่ 4 ฐานเติมภาพสร้างสรรค์

กลุ่มที่ 5 ฐานทดลอง
หลังจากนั้นอาจารย์ได้ปล่อยให้นักศึกษาไปตรงลงกันจะมีวิธีการดำเนินการอย่างไร
ทำไปแล้วตรงกับพัฒนาการที่เราอยากให้เด็กหรือเปล่า
ทำไปแล้วช่วยในเรื่องไดได้บ้าง

ขั้นตอนการทำ

1. ชื่อเรื่องที่จะทำ ?
2. วัตถูประสงค์ 
3. วิธีดำเนินการ
4. ประเมิน
 ทำเสร็จแล้ว รวบรวมกันกับเพื่อน แล้วนำส่งอาจารย์ เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง


ประเมินอาจารย์

วันนี้อาจารย์ได้มาแนะแนวทางในการจัดกิจกรรมของฐานเด็ก อาจารย์ได้มีการชี้แนะได้ให้เราสามารถคิดเกี่ยวกับหัวข้อที่เรารับมอบหมายได้  อาจารย์สอนโดยการจะเน้นคำพูด เพื่อให้เราจำได้ แล้วสามารถนำไปปรับให้เข้ากับฐานกิจกรรมได้ อาจารย์สอนได้สนุก แต่อาจารย์ใช้เวลาสอนแค่แปปเดี๋ยว เหตุผล เพราะอาจารย์ติดธุระของทางคณะศึกษาศาสตร์ แต่อาจารย์ก็ไม่เคยปล่อยให้เวลาเสียเปล่า อาจารย์เลือกที่มาสอนโดยใช้สอนถึงไม่นานแต่ก็สามารถเข้าในสิ่งที่สอนได้

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วัน พุธ ที่ 29 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2561

เวลา (08:30 - 12:30)








ความรู้ที่ได้วันนี้

การจัดประสบการณ์วิทย์ศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

-พัฒนาการ หมายถึง เปลี่ยนแปลงไปตามลำกับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง ให้นึกถึง การคล่ำ การคืบ การคลาน และอีกอย่างที่ควรนึกถึงคือ ขั้นบันได
-พัฒนาการ คือ ความสามารถของเด็กที่แสดงออกในแต่ระดับ
-นำไปประยุกต์ใช้  การเลือจัดกิจกรรมประสบการณ์ที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย
พัฒนาการทางสติปัญญา คือ เพียเจต์ บรูเนอร์  (ไวกอสกี้ และ กานเย) 2 ท่านนี้จะหนักไปทางด้านภาษา
พัฒนาการทางร่างกาย คือ กรีเทล
พัฒนาการทางสังคม คือ มาสโลว์
พัฒนาการทางคุณธรรม คือ โคเบิร์กพัฒนาการของเพียเจย์ทางสติปัญญาของเพียเจต์
1. แรกเกิด - 2 ปี (สัมผัส จับต้องสิ่งขิงสิ่งเร้าภายนอก)
2. ขั้นก่อนการปฏิบัติการคิด อายุ 2- 4 ปี  (ใช้ภาษา มีความคิดเป็นของตัวเอง แต่ยังใช้เหตุผลไม่ได้ ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง )
3. อายุ4 -7 ปี (ใช้ภาษาได้มากขึ้น สามารถอธิบายใช้เหตุผลมากขึ้น ซึ่งงอยู่ในขั้นอนุรักษ์ เด็กใช้เหตุผล จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม ยังอยู่กับอะไรเดิมๆ ยังไม่มีสิ่งที่เปลี่ยนแปลง)
** เด็กตอบตามตาเห็น เรียกว่า ขั้นอนุรักษ์ (Accomodation) คือ การปรับความรู้ใหม่
การเรียนรู้ คือ เมื่อเด็กมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
วิธีการของเด็ก คือ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยการลงมือกระทำกับวัตถุ และเด็กต้องตัดสินใจเอง
ทฤษฎีสกินเนอร์ ( การเสริมแรง มีคำชม การกอด ปรบมือ)


ต่อไปจะเป็นการให้ความรู้ผ่านสื่อการเรียนรู้


เด็กปฐมวัย

1. มีความอยากรู้อยากเห็น
2. แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว
-แสวงหาความรู้เพื่อมาเติมเต็มคำตอบสัมพันธ์กับพัฒนาการในตัวเด็ก
-แสวงหาความรู้นำไปแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้
3. วัยที่มีพัฒนาการของสมองที่ดีสุด-ต้องได้รับอาหาร-การนอนพักผ่อนที่ดี
-การส่งเสริมต่อการพัฒนาของสมองที่ดีความหมายทักษะการสังเกต
- การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5  ได้แก ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย สัมผัสโดยตรงกับวัตถุ / เหตุการณ์
- การสังเกตรูปร่างลักษณะทั้วไป
- การสังเกตรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง การปลูกถั่วงอก

ความหมายทักษะการจำแนกประเภท    ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying) หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งโดยหาเภทโดยการหาเกณฑ์

1.ความเหมือน คือ รูปทรง
2.ความแตกต่าง คือ เราใช่เกณฑ์ตั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันไหนไม่ใช่คัดออกไป
3.ความสัมพันธุ์ร่วม คือ ของสองอย่างมีเหมือนกัน เช่นรถกับถนน
ความหมายทักษะของการวัด (Measurenment)การใช้เครื่องมือต่างๆ วัดประเมินของสิ่งที่เราต้องการโดยมีหน่วยวัดกำกับ
1.รู้จักกับสิ่งของของที่จะวัด
2.เลือกเครื่องมือที่นำมาใช้วัด
3.วิธีที่เราจะวัด

ความหมายทักษะการสื่องความหมาย คือ การพูด เขียน รูปภาพ ภาษาท่าทาง ความสามารถการรับข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน

1.บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุ
2.บันทึกความสัมพันธฺของข้อมูลที่จะได้จัดกระทำ
3.บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้จัดกระทำ
4.จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่างๆ

ความหมายทักษะการสื่อความหมายการพูด (เขียน รูปภาพ ภาษาท่าทาง ความสามารถในการรับข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน)ความหมายของทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring)

1.ลงข้อสรุปสิ่งต่างๆ
2.ข้อสรุปความสำคัญ
3.คอยสังเกตความเปลี่ยนแปลง

ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปส กับ เวลาการรู้จัดการรู้

1 มิติ คือ มองเห็นความสูง หน้า/หลัง
2 มิติ คือ การมองเห็นภาพได้หลากหลาย

ทำไมต้องสอนวิทย์

1. เด็กใช้เหตุผล
2. มีทักษะ
3. เข้าใจความสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัว

สมองกับวิทยาศาสตร์

1.ตีข้อมูลที่ได้รับเพื่อความเข้าใจ
2.เหตุผลเชื่อมโยงสิ่งที่คิดขึ้นเพื่อสืบค้นความจริง
3.ประเมิยคุณค่าของสิ่งต่างๆ เพื่อการตัดสินใจ
4.จำแจกองค์ประกอบ เพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งหมดของเรื่องนั้น

ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์ได้สอน โดยการนำเนื้อจากการเรียนวิชาที่ผ่านมา มาช่วยในการเรียนวิชานี้ด้วย อารจารย์จะชอบสอน โดยการจะถามนักศึกษาที่อยู่ในห้องเรียน อาจารย์มักเน้นคำที่เราจำเป็นต้องรู้และควรจำ ความหมาย เอาไปใช้แบบไหน




                                          








































































































































บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 วัน ศุกร์ ที่ 30 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 อาจารย์ให้ส่งงาน มายแมพชิ้นสุดท้าย   ...