วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14



วัน ศุกร์ ที่ 30 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

อาจารย์ให้ส่งงาน มายแมพชิ้นสุดท้าย


 





วิดิโอคลิปที่อาจารย์ มอบหมายให้ไปลองทำดู 
เรื่องทอลองทางวิทย์ วันที่ไปจัดกิจกรรมจิตอาสา ที่มูลนิธิเด็กอ่อนสลัม ในซอยเสือใหญ่











บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13



วัน พุธ ที่ 21 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

เวลา (08:30 - 12:30)
ความรู้ที่ได้ในวันนี้

อาจารย์คุยกับนักศึกษา
- คุยเรื่อง www.app.biteable.com
- การนำเสนองาน
- นำรูปเป็นรูปวิดิโอ
- ดูแผน และมายแม็พ
- ให้ลองไปทำวิดิโอ กลุ่มละ 1 ชิ้นงาน
- สาระที่เรียนรู้ 4 หัวข้อใหญ่ เลือกมาตอบโจทย์
หลักการคิด
- ทำไมถึงเลือก คิดอย่างไร : ใกล้ตัวตัวเด็ก ผลกระทบต่อเด็ก สิ่งรอบตัว เด็กอยากรู้ 
เกิดการเรียนรู้
- ประสบการณ์ คือ เด็กได้ลงมือปฏิบัติ ได้ลองทำ เคยทำมาแล้ว
- ประสบการณ์เด็ก ต้องมีลักษณะต้องให้เด็กลงมือทำเอง ผ่านประสบการณ์สัมผัสทั้ง 5 ว่าคือการเล่น เพราะมันสอดคล้องกับสมองของเด็ก เกิดการซึมซับกับสิ่งที่ทำ การทำงานของสมอง  ขั้นตอนการทำงานต้องควบคู่กับพัฒนาการ (เพียเจย์) 

การยกตัวอย่าง มายแม็บของเพื่อน
เรื่อง วัด 
1. องค์ประกอบของวัด , ชื่อวัด : ถามเด็กต่อว่านอกจากวัดที่พูดมา มีวัดอะไรอีกนะ ?
2. ลักษณะของวัด : ขนาดของวัด  (ใหญ่ - เล็ก)
3. การดูแลรักษาของชาวพุทธ : สิ่งที่ได้ประโยชน์ , สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ
4.ประโยชน์ของวัด : ศึกษาพระธรรมวินัย , การปฏิบัติธรรม ประกอบวินัยทางศาสนา เช่น งานบวช , การจัดงานทางศาสนา
5. ข้อพึงระวัง : การแต่งกาย , การส่งเสียงดัง
เรื่อง มะละกอ
1. ชื่อ : มะละกอ
2. พันธุ์ : มีอะไรบ้าง
3. สายพันธุ์ : มีอะไรบ้าง
4. ส่วนประกอบ : ลำต้น ใบ 
5. อธิบายเพิ่มเติม :  การเจริญเติบโต , การดำรงณ์ชีวิต , อาหารของมะละกอ
***การเขียนแมพ ต้องเริ่มจาก ขวาไปซ้าย
ประเมิน
ประเมินอาจารย์ : วันนี้อาจารย์ได้ให้ความเรื่องการทำเม็บ และ วิดิโอคลิป แล้วอาจารย์ยังอธิบายจากที่ดิฉันยกตัวอย่าง เรื่อง วัด , เรื่อง มะละกอ ที่กล่าวไว้ข้างต้น เวลาที่ไม่เข้าใจสามารถสอบถามได้ อาจารย์เป้นคนใจดี แถมติดตลกด้วย เวลาที่อาจารย์สอน อาจารย์จะย้ำๆ คำเดิมๆ เสมอ เพื่ออยากให้เราสามารถจำ แล้วสามารถเข้า เอาไปปรับปรุงนำไปแก้ไขได้ในอนาคต 

 



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12



วัน พุธ ที่ 14 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

เวลา (08:30 - 12:30)

ความรู้ที่ได้ในวันนี้
วันนี้อาจารย์ได้พาเราไปจัดกิจกรรมที่ มูลนิธิเด็ดอ่อนในสลัม ซอยเสือใหญ่ หลังมอจันเกษม นี้เองคะ เราจะเก็บภาพกิจกรรมมาให้ดูด้วยนะคะ


 
เริ่มออกจาก ตึกคณะศึกษาสตร์ เวลา 09:00 นใ
 
ระหว่างที่เดินไปหลังมอ อาจารย์ดูมีความสุขมากเลยคะ





ก่อนจัดกิจกรรมนี้คือบรรยากาศก่อนจะเริ่มทำกิจกรรม เพื่อนแต่ละคนต่างจัดเตรียมฐานของตัวเอง  






ขั้นตอนการเตรียมเด็กก่อนเข้าทำกิจกรรม

จัดให้เด็กในแต่ละกลุ่ม มีจำนวน 9-10 คน ถ้าเด็กเสียงดัง อย่าลืมเก็บเด็กก่อนการทำกิจกรรม เพื่อดึงดูดความสนใจของเด็ก ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้นะคะ


ภาพกิจกรรมของแต่ละฐาน

ฐานของดิฉัน เรือดำน้ำ






ฐาน ภูเขาไฟระเบิด



ฐานลูกโป่งพองโต




ฐาน Shap bub bub bubble

 

สรุปจากการที่เราไปทำกิจกรรม 
วันนี้ดิฉันสนุกมาก ที่ได้มาจัดกิจกรรมดีๆ แบบนี้ ทำให้เด็กได้สนุก ดูจากความตั้งใจที่เด็กๆทุกคนแสดงออกมา เวลาเราบอก หรือเราแนะนำ แม้กระทั้งเรากำลังสอน สว่าสิ่งที่เด็กกำลังทำอยู่ตอนนี้ คือการเรียน โดยที่เด็กอาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่า กำลังเรียนเรื่องวิทย์ ด้วยซ้ำ เพราะการเรียนของเด็ก คือการเล่น การเล่นในที่นี้คือ การเรียนรู้ของเด็กโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยให้เด็กเป็นคนลงมือกระทำผ่านวัตถุ และให้เด็กเป็นคนเลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง นั้นแหละคือวิธีการเรียนรู้ของเด็ก เรียกอีกอย่างว่า การเล่น นั้นเอง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11


วัน พฤหัสบดี ที่ 11 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

เวลา (08:30 - 12:30)
**วันนี้เป็นวันเรียนชดเชย 
อาจารย์ได้มอบมายงานให้นักศึกษา คือ ทำ
Mind mapping และให้แต่ละกลุ่มเลือกหน่วยการเรียนรู้ที่เราจะทำ พร้อมทั้งเขียนแผนเสริมประสบการณ์กำหนดส่งงานอาทิตย์หน้า


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วัน พุธ ที่ 7 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
เวลา (08:30 - 12:30)
ความรู้ในวันนี้
วันนี้อาจารย์ให้อัดคลิปการทดลองวิทยาศาสตร์ โดยแต่กลุ่มต้องมีการ ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป โดยให้มีรายละเอียดให้ครบ เหมือนสอนเด็กจริง เพื่อเวลาที่จะไปสอนเด็กจะไม่มีอะไรติดขัด จะเพื่อนออกมานำเสนอแต่ละกลุ่ม ดังต่อนี้

ฐานที่ 1
Shape of Bub-Bub Bubble
ฐานที่ 2

เรื่อง  ลูกโปงพองโต

ฐานที่ 3
เรื่อง ปั้มขวดและลิปต์เทียน
ฐานที่ 4

เรื่อง เรือดำน้ำ
หลังจากที่เพื่อนแต่ละฐานได้ออกไปนำเสนอ อาจารย์ได้คำแนะนำ เรื่องการตั้งสมมติฐาน การสรุปหลังจากที่เราไดทำการทดลอง

ประเมิน
ประเมินอาจารย์ : วันนี้อาจารย์วันนี้อาจารย์ถามเกี่ยวกับ ฐานเรือดำน้ำ ฐานของกลุ่มดิฉันสามารถตอบอาจารย์ได้ สังเกตเวลาที่อาจารย์จะถาม อาจารย์จะใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เราสามารถตอบคำถามได้ และมีการสรุปให้เราเข้าใจจากการทดลองอีกด้วย

 

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วัน พุธ ที่ 24 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2561
เวลา (08:30 - 12:30)

ความรู้ที่ได้ในวันนี้

พัฒนาการ ความหมาย ความสามารถของเด็กที่ได้แสดงออกเป็นพฤติกรรมของช่วงวัยอายุ

หลักการคิด
1.เรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก และเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมของเด็กประสบการณ์สำคัญรอบตัวเด็ก ที่เด็กจะเชื่อมโยงได้
2.เรื่องที่เป็นมันมีผลกระทบ เช่น อาหารดีมีประโยชน์ สุขภาพร่างกาย เรื่องที่เกี่ยวกับรถตู้ จะช่วยเหลือยังไง

สาระ
1.เลือกให้เหมาะสมกับพัฒนาการ เพราะเด็กสามารถทำได้ และเหมาะสม
2.ออกแบบการจัดกิจกรรม
หลักการคิด สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ เลือกและตัดสินใจด้วยตัวเอง วิธีการเรียนรู้ของเด็กหรือที่เรียกว่า "การเล่น" ความหมายให้ความสำคัญ สำคัญของการทำงานของสมอง

**ขั้นอนุรักษ์ เด็กตอบตามตาเห็น (ของที่จับต้องได้) สิ่งของที่เป็นรูปธรรม
***ผ่านขั้นอนุรักษ์ เด็กตอบด้วยเหตุผล (นามธรรม)

สอนเด็กมี 2 ส่วน 
1.เนื้อหา
2.ประสบการณ์ , ศึกษาวิทยาศาสตร์

การใช้คำถาม คือ เทคนิค

**สิ่งที่ครูถามเพื่อต้องการให้เด็กตั้งสมมติฐาน สมมติฐาน คือ การคาดเดา การคาดคะเน ซึ่งเรายังไม่รู้

วิธีการทางวิทยาศาสตร์
ขั้นที่ 1. การสังเกต รวมทั้งการบันทึกข้อมูล 

ขั้นที่ 2. การตั้งสมมติฐาน 
ขั้นที่ 3. การทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน 
ขั้นที่ 4. การสรุปผล 


 รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท., 2546) ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญดังนี้
1)ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจซึ่งเกิดขึ้นจากความสงสัย หรืออาจเริ่มจากความสนใจของตัวนักเรียนเองหรือเกิดจากการอภิปรายภายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนรู้มาแล้วเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถามกำหนดประเด็นที่ศึกษา ในกรณีที่ไม่มีประเด็นใดที่น่าสนใจครูอาจให้ศึกษาจากสื่อต่างๆหรือเป็นผู้กระตุ้นด้วยการเสนอด้วยประเด็นขึ้นมาก่อน แต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือคำถามที่ครูกำลังสนใจเป็นเรื่องที่จะใช้ศึกษา
          เมื่อมีคำถามที่น่าสนใจ และนักเรียนส่วนใหญ่ยอมรับให้เป็น
ที่ต้องการศึกษา จึงร่วมกันกำหนดขอบเขตและแจกแจงรายละเอียด
ของเรื่องที่จะศึกษาให้มีความชัดเจนมากขึ้น อาจรวมทั้งการรับรู้
ประสบการณ์เดิม หรือความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ที่จะช่วยให้นำไปสู่
ความเข้าใจเรื่องหรือประเด็นที่จะศึกษามากขึ้น และมีแนวทางที่ใช้ในการสำรวจตรวจสอบอย่างหลากหลาย
2)ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็มีการวางแผนกำหนดแนวทางสำหรับการตรวจสอบตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ วิธีการตรวจสอบอาจทำได้หลายวิธี เช่นทำการทดลอง ทำกิจกรรมภาคสนาม การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulation) การศึกษาหาข้อมูลจากเอกสารอ้างอิงหรือจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้ในขั้นต่อไป
3)ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) เมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการสำรวจตรวจสอบแล้ว จึงนำข้อมูลข้อสนเทศที่ได้มิเคราะห์ แปลผล สรุปผลและนำเสนอผลที่ได้ในรูปต่าง ๆ เช่น บรรยายสรุป สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ หรือรูปวาด สร้างตาราง ฯลฯ  การค้นพบในขั้นนี้อาจเป็นไปได้หลายทาง เช่น สนับสนุนสมติฐานที่ตั้งไว้ โต้แย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ได้กำหนดไว้ แต่ผลที่ได้จะอยู่ในรูปใดก็สามารถสร้างความรู้และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้
4)ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือความคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติมหรือนำแบบจำลองหรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่น ๆ ถ้าใช้อธิบายเรื่องต่าง ๆ ได้มากก็แสดงว่าข้อจำกัดน้อย ซึ่งจะช่วยให้เชื่อมโยงกับเรื่องต่าง ๆ และทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น
  5)ขั้นประเมิน (Evaluation) เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่าง ๆ ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด จากขั้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่น ๆการนำความรู้หรือแบบจำลองไปใช้อธิบายหรือประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์หรือเรื่องอื่น ๆ จะนำไปสู่ข้อโต้แย้งหรือข้อจำกัดซึ่งจะก่อให้เกิดประเด็นหรือคำถาม หรือปัญหาที่จะต้องสำรวจตรวจสอบต่อไป ทำให้เกิดเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ จึงเรียกว่า Inquiry cycle กระบวนการสืบเสาะหาความรู้จึงช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งเนื้อหาหลักและหลักการ ทฤษฎี ตลอดจนลงมือปฏิบัติ เพื่อให้ได้ความรู้ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการเรียนต่อไป

ต่อไปเป็นนำเสนอคลิปวิดิโอที่เพื่อนไปอัดมานำเสนอโดยนำเนื้อหามาจาก บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

คนแรก คือดิฉัน นำเสนอ ชื่อกิจกรรมว่า "ลูกข่างหลากสี"               ปัญหา/สมมติฐาน
          1.ถ้าเราหมุนลูกข่างแล้วจะเกิดสีอะไรขึ้นได้บ้าง


 ขั้นตอนการทำกิจกรรม

         1.นำกระดาษที่ออกแบบติดซีดี
         2.ตกแต่งระบายสีบนแผ่นวงกลมให้สวยงามตามจินตนาการ
        3.ทดลองเล่น และให้เด็กๆสังเกตสีที่อยู่บนแผ่นวงกลมว่าเห็นสีอะไรบ้าง



 สรุปผลการทดลอง

        ตาของเรามองเห็นสีต่างๆ เนื่องจากเซลล์รับสีในตาของเราที่ไหวต่อแสง สี 3 สีหลัก ได้แก่ แดง น้ำเงิน และเขียว เมื่อถูกกระตุ้น ถ้ามีหลากหลายสีเคลื่อนไหว และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตาของเราจะไม่สามารถแยกสีต่างๆได้ทัน จึงเห็นสีต่างๆ ผสมสีต่างๆ ผสมเป็นสีเดียว

เรื่อง ปริมาณน้ำในแก้วเท่ากันหรือไม่


เรื่อง  เรื่อแรงลม


เรื่อง  เครื่องชั่งน้ำหนักจากไม้แขวนเสื้อ

ประเมิน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อาจารย์จะคอยสอดแทรกเนื้อหาเข้าไปให้ครบ อาจารย์จะไม่ปล่อย อาจารย์จะไม่นิ่งเฉย ถ้าอันไหนเราทำดีแล้วอาจารย์ก็ชื่นชม แล้วอาจารย์จะย้ำเสมอเรื่องการสอน สอนแบบไหน เริ่มอย่างไรให้ถูกวิธี

 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
วัน พุธ ที่ 17 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2561
เวลา (08:30 - 12:30)

อาจารย์ได้ให้ความรู้

ความรู้ของเด็ก คือ เกิดการเรียนรู้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

ประสบการณ์สำคัญของเด็ก
1.เด็กได้สังเกต
2.เด็กได้อธิบาย

จัดประสบการณ์ให้กับเด็ก
1.เด็กมีส่วนร่วม
2.การเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมของเด็กและประสบการณ์สำคัญรอบตัวเด็ก

  วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาได้จัดทำโครงการที่เกี่ยวกับการทดลองวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปจัดกิจกรรมให้เด็กๆ ได้ฝึกการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยของนักศึกษา โดยให้แต่ละกลุ่มเลือกกิจกรรมมากลุ่มละ 1 กิจกรรมแล้วร่วมกันช่วยกันคิด สืบค้นหาข้อมูล โดยให้เลือกกิจกรรมที่คิดว่าที่สุด เสร็จแล้วให้ออกมานำเสนออาจารย์ และให้เพื่อนฟัง 


บรรยายกาศที่ช่วยกันระดมความคิด

                                                               

หลังจากที่ระดมความคิดเสร็จแล้วก็ได้ออกมานำเสนออาจารย์ ทั้งหมดจะมี 4 กลุ่มดังต่อไปนี้

 
 
 
 
  
กลุ่มงานดิฉัน
หลักการในการเขียนโครงการ  ดังนี้

1.ชื่อโครงการ
2.หลักการและเหตุผล
3.เวลาและสถานที่ /งบประมาณ
4.ตาราางการทำกิจกรรมต่างๆ
5.วิธีการประเมินผล
6.การแบ่งหน้าที่

กลุ่มที่จะทำการทดลองต้องมีรายละเอียด  ดังนี้

1. ตั้งชื่อกิจกรรม (ดึงดูดความสน , น่าสนใจ)
2.วัตถุประสงค์ (เด็กต้องมีส่วนร่วมมากที่สุด 
การเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมของเด็กและสำคัญที่อยู่รอบตัวเด็ก)
3.วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
4.ขั้นตอนการทดลองกิจกรรมวิทยาศาสตร์
5.ผลที่เด็กๆจะได้รับ


ประเมิน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนได้สนุกมากค่ะ เวลาที่เพื่อนออกไปนำเสนอ ถ้าอันไหมดูแล้วขัดๆ อาจารย์จะคอยสอดแทรกเนื้อหาเข้าไปให้ครบ อาจารย์จะไม่ปล่อย อาจารย์จะไม่นิ่งเฉย ถ้าอันไหนเราทำดีแล้วอาจารย์ก็ชื่นชม แล้วอาจารย์จะย้ำเสมอเรื่องการสอน สอนแบบไหน เริ่มอย่างไรให้ถูกวิธี

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วัน พุธ ที่ 10 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2561
เวลา (08:30 - 12:30)



     ก่อนที่ได้เริ่มเรียนอาจารย์ได้เปิดคลิปวีดีโอ "การทดลองฟองสบู่"  ให้ดู เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ในเรื่อง  แรงตึงผิวของน้ำ หรือปรากฏการณ์แคปปิราลี่  เกิดจากการที่น้ำมีโมเลกุลที่ยึดติดกันจึงทำให้เกิดแรงตึงผิว    

อาจารย์ได้ทวบทวนความรู้เดิม : ขั้นตอนการทดลอง (ขั้นตอนการทำงานเป็นระบบ)
วิธีการทำ : เด็กเห็นอะไรบนโต๊ะ / เราเอามาทำอะไรได้บ้าง / ประเด็นปัญหา / สิ่งที่อยากรู้ / สมมติฐาน

การตั้งสมมติฐาน : (เด็กๆ อยากรู้ มันจะเกิดอะไรขึ้น) , (เด็กๆ อยากรู้ , เด็กๆ คิดว่า) เป็นต้น 


การนำเสนอบ้านนักวิทยาศาสตร์ของเพื่อนๆ


 เรื่อง ฟองสบู่

ปัญหา/สมมติฐาน 

         เมื่อเรานำน้ำกับน้ำยาล้างจานมาผสมกันจะเกิดอะไรขึ้น

ขั้นตอนการทำกิจกรรม
          1.เทน้ำใส่กะละมัง  1/4  ของขวดน้ำ และผสมน้ำยาล้างจาน  5 ช้อน คนให้เข้ากัน
          2.ดัดลวดเป็นรูปทรงต่างๆ 
          3.นำลวดที่ดัดเป็นรูปทรงต่างๆ พันกับลวดกำมะหยี่
          4.นำลวดรูปทรงที่ตัด มาจุ่มน้ำในกะละมัง แล้วยกขึ้นมาเป่าเบาๆ

สรุปผลการทดลอง
           เมื่อเราได้ผสมน้ำกับน้ำยาล้างจานแล้วเป่ามันจะเกิดฟองขึ้นมา  เนื่องจากในน้ำยาล้างจานมีพื้นผิวที่ลื่นจึงทำให้เกิดฟองขึ้นมา



เรื่อง ลูกโป่งพองโต

ปัญหา/สมมติฐาน 

          เมื่อเรานำเบคกิ้งโซดากับน้ำส้มสายชูมาผสมกันแล้วจะเกิดอะไรขึ้น

ขั้นตอนการทำกิจกรรม
           1.นำเบคกิ้งโซดาใส่ในลูกโป่ง
           2.นำน้ำส้มสายชูใส่ในขวดน้ำครึ่งขวด
           3.นำลูกโป่งมาสวมเข้ากับขวดน้ำ



เรื่อง  ภาพซ้ำไปมา

ปัญหา/สมมติฐาน 

             1.รูปภาพที่เหมือนจะสามารถต่อกันได้หรือไม่

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
             1.วาดรูปนก ระบายสีแล้วตัดออกมาเป็นภาพนก
             2.นำรูปนกมาเรียงต่อกัน แล้วสังเกตรายละเอียด



เรื่อง ระฆังดำน้ำ


ปัญหา/สมมติฐาน 
        เมื่อเอาขวดน้ำที่ตัดก้นกดลงไปในแก่นลอนแล้วจะเกิดอะไรขึ้น

ขั้นตอนการทำกิจกรรม
1.ปิดฝาขวดน้ำที่ตัดก้นแล้วให้สนิท
2.นำขวดน้ำที่ตัดก้นแล้วลงในน้ำ
3.ค่อยๆ กดขวดลงในน้ำ
4.จากนั้นเปิดฝาออก
              
ประเมิน
ประเมินอาจารย์ : วันนี้อาจารย์ได้อธิบายวิธีการทดลอง วิธีการเริ่มสอน วิธีการพูดค่อย ก่อนการทดลอง เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดแล้วตอบคำถาม โดยที่เราเป็นคนตั้งประเด็นปัญหา แล้วให้เด็กตั้งสมมติฐานเอง อาจารย์สอนได้สนุกแถมอาจารย์ชอบย้ำเนื้อหาที่เราเรียนผ่านมาเพื่อไม่ให้เราลืม


 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 วัน ศุกร์ ที่ 30 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 อาจารย์ให้ส่งงาน มายแมพชิ้นสุดท้าย   ...